Tuesday 18 January 2011

ประเภทวงดนตรีไทย

การแบ่งประเภทของวงดนตรีไทยจำแนกตามลักษณะการประสมวงได้ 3 ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์และวงมโหรี

วงเครื่องสาย
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิง เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยง แต่ไม่ได้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์

๑. วงเครื่องสายไทย

วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่บรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ วงเครื่องสายไทยนี้เรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่

๑.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้ วย เครื่องดนตรีเครื่องสายและเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
จะเข้ ๑ ตัว ซอด้วง ๑ คัน ซออู้ ๑ คัน ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา โทน-รำมะนา ๑ คู่
ฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบ ๑ คู่ กรับ ๑ คู่ โหม่ง ๑ ใบ

๑.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรี จากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็นสองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้
จะเข้ ๒ ตัว ซอด้วง ๒ คัน ซออู้ ๒ คัน ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา
ฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบ ๑ คู่ กรับ ๑ คู่ โหม่ง ๑ ใบ โทน-รำมะนา ๑ คู่

๓. วงเครื่องสายปี่ชวา

ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบ เปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่

๓.๑ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
ปี่ชวา ๑ เลา ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา ซอด้วง ๑ คัน ซออู้ ๑ คัน
จะเข้ ๑ ตัว กลองแขก ๑ คู่ ฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

๓.๒ วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็น 2 หรือคู่ ดังนี้
ปี่ชวา ๑ เลา ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา ซอด้วง ๒ คัน ซออู้ ๒ คัน
จะเข้ ๒ตัวกลองแขก ๑ คู่ฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม
วงปี่พาทย์
๑. วงปี่พาทย์ชาตรี
วงดนตรีชนิดนี้เริ่มปรากฏหลักฐานตั้งแต่ครั้งสุโขทัยมาแล้ว ถือเป็นวงปี่พาทย์ยุคเริ่มแรก และเนื่องจากวงดนตรีชนิดนี้นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี จึงเรียกกันว่าวงปี่พาทย์ชาตรี หรืออาจเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา วงปี่พาทย์ชาตรีประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้
ปี่นอก ๑ เลาโทน (ทับ) ๑ คู่กลองชาตรี ๑ ใบฆ้องคู่ ๑ ชุดฉิ่ง ๑ คู่

๒. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

จัดเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายสูงสุดในกลุ่มวงปี่พาทย์ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นวงดนตรีที่มีความเป็นมาตรฐานที่สูงสุดอีกด้วย เครื่องดนตรีในวงดนตรีประเภทนี้ทุกเครื่องจะมีเสียงดัง เนื่องจากบรรเลงด้วยไม้ตีชนิดแข็ง จึงเรียกชื่อวงดนตรีชนิดนี้ว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง ตามลักษณะของไม้ที่ใช้บรรเลง
วงปี่พาทย์ไม้แข็งสามารถแบ่งตามขนาดของวงหรือตามจำนวนของเครื่องดนตรีได้เป็น ๓ ขนาด คือ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ และวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่

๒.๑ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า

ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอย่างละหนึ่งเครื่อง โดยแต่เดิมนั้นประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก) ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน และกลองทัด จนมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงได้เพิ่มฉิ่งขึ้นอีกสิ่งหนึ่ง
ดังนั้น ในปัจจุบัน วงปี่พาทย์เครื่องห้า จึงประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีและกำกับจังหวะรวมกันเป็นจำนวน ๖ เครื่อง กล่าวกันว่า สาเหตุที่เรียกเครื่องห้าอาจเป็นเพราะตะโพนและกลองทัดจัดเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องหนังหรือกลองทั้งคู่ จึงนับจำนวนหน่วยเป็นหนึ่ง เครื่องดนตรีต่างๆ มีดังนี้
ปี่ใน ๑ เลาระนาดเอก ๑ รางฆ้องวงใหญ่ ๑ วงตะโพน ๑ ใบกลองทัด ๑ คู่ (แต่เดิมมี ๑ ใบ เพิ่งมาเพิ่มเป็นคู่เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑)ฉิ่ง ๑ คู่

๒.๒ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่

วงปี่พาทย์ไม้แข็งชนิดนี้ถูกเรียกว่าเครื่องคู่นั้น มาจากรูปแบบของการประสมวงที่กำหนดจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนองให้เป็นอย่างละสองเครื่องหรือเป็นคู่ กล่าวคือ ปี่ ๑ คู่ ระนาด ๑ คู่ และฆ้องวง ๑ คู่ เครื่องดนตรีและเครื่องกำกับจังหวะที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ประกอบด้วย

ปี่ใน ๑ เลาปี่นอก ๑ เลาระนาดเอก ๑ รางระนาดทุ้ม ๑ รางฆ้องวงใหญ่ ๑ วงฆ้องวงเล็ก ๑ วงตะโพน ๑ ใบกลองทัด ๑ คู่ฉิ่ง ๑ คู่ฉาบ กรับ โหม่ง บางครั้งอาจมีกลองแขกเพิ่มขึ้นด้วย


๒.๓ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่

วงดนตรีประเภทนี้เครื่องดนตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่เป็นหลัก แต่มีการเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กขึ้นอีกอย่างละราง นับเป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีวิวัฒนาการสูงสุดในปัจจุบัน
เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ประกอบด้วย
ปี่ใน ๑ เลา ปี่นอก ๑ เลา ระนาดเอก ๑ ราง ทำหน้าที่นำวง บรรเลงเก็บแทรกแซงตามทำนองเพลงระนาดทุ้ม ๑ราง ระนาดเอกเหล็ก ๑ ราง ระนาดทุ้มเหล็ก๑ ราง ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง ฆ้องวงเล็ก ๑ วง ตะโพน ๑ ใบ กลองทัดกลองทัด ๑ คู่ บรรเลงเดินตามจังหวะไม้กลองแต่ละเพลงฉิ่ง ๑ คู่ ฉาบเล็ก ๑ คู่ ฉาบใหญ่ ๑ คู่ โหม่ง ๑ คู่

วงมโหรี
วงมโหรี เป็นวงดนตรีผสม ระหว่างวงเครื่องสายผสมกับวงปี่พาทย์

วงมโหรีโบราณ

มีเครื่องดนตรีและผู้บรรเลงเพียง ๔ คน
วงมโหรีโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้
๑. ซอสามสาย ๒. กระจับปี่
๓. โทน ทับ ๔. กรับพวง
มโหรีวงเล็ก
มีเครื่องดนตรีดังนี้
๑. ซอสามสาย
๒. ระนาดเอก ๓. ฆ้องวง ๔. ซอด้วง ๕. ซออู้
๖. จะเข้ ๗. ขลุ่ยเพียงออ ๘. โทน ๙. รำมะนา ๑๐. ฉิ่ง

วงมโหรีเครื่องคู่

มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ทั้งวิธีบรรเลงและหน้าที่ เหมือนกับวงมโหรีวงเล็กทุกอย่างแต่เพิ่มซอด้วงเป็น ๒ คัน ซออู้เป็น ๒ คัน จะเข้เป็น ๒ ตัว กับเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๓ อย่าง คือ
๑. ขลุ่ยหลิบ ๒. ระนาดทุ้ม ๓. ฆ้องวงเล็ก มีอย่างในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ บางทีก็เพิ่มซอสามสายคันเล็ก เรียกว่า ซอสามสายหลิบ อีก ๑ คัน


วงมโหรีเครื่องใหญ่

มีเครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวง ตลอดจนวิธีบรรเลงและหน้าที่เหมือนกับวงมโหรีเครื่องคู่ทุกอย่าง แต่เพิ่มเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ
๑. ระนาดเอกเหล็ก
๒. ระนาดทุ้มเหล็ก


แหล่งอ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/33323